งานบริการติดตั้งเครื่องมือทางธรณีเทคนิค
ฝ่ายเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค มีทีมงานที่มีประสบการณ์จากการติดตั้งอุปกรณ์ ในหลายรูปแบบและลักษณะงาน มีขั้นตอนวิธีการติดตั้งสำหรับเครื่องมือแต่ละชนิด เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพงานติดตั้งได้อย่างมีมาตรฐาน และในส่วนงานตรวจวัดเครื่องมือทางธรณีเทคนิค มีเทคโนโลยีและประสบการณ์การตรวจวัดในสนามด้วยทีมงานมืออาชีพ นอกจากนี้ยังมีระบบการตรวจวัด และบันทึกข้อมูลอัตโนมัติพร้อมระบบรับส่งข้อมูลระยะไกล รวมถึงมี โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) เพื่อใช้สำหรับงานที่มีข้อมูลการตรวจวัดจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
-
บ่อสังเกตการณ์ระดับน้ำ (Observation Well) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดระดับน้ำใต้ดิน ในบ่อหรือหลุมเจาะ เพื่อตรวจสอบหาค่าระดับน้ำใต้ดิน (Ground Water Table)
- เครื่องมือวัดแรงดันน้ำใต้ดิน (Piezometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจวัดค่าแรงดันน้ำ (Pore Water Pressure) ในชั้นดิน ณ ระดับความลึกต่างๆ แบบที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ แบบท่อปลายเปิด (Standpipe Piezometer), แบบระบบลม (Pneumatic Piezometer) และแบบระบบไฟฟ้า (Electric Piezometer)
- แผ่นวัดการทรุดตัวของผิวดิน (Surface Settlement Point) เป็นเครื่องมือวัดการทรุดตัวที่ผิวดินโดยการวางแผ่นเหล็กที่ยึดติดกับท่อเหล็กตรงตำแหน่งที่ต้องการตรวจวัดและใช้กล้องระดับวัดระดับปลายท่อเพื่อหาค่าการทรุดตัว
-
เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน (Inclinometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของมวลดินที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน สามารถติดตั้งท่อได้ 2 รูปแบบ คือ ติดตั้งท่อไว้ในแนวดิ่งเพื่อวัดการเคลื่อนตัวด้านข้างของมวลดิน (Lateral Movement) และติดตั้งท่อไว้ในแนวนอนเพื่อวัดการเคลื่อนตัวของมวลดินในแนวดิ่ง (Vertical Movement)ส่วนประกอบของเครื่องมือจะประกอบไปด้วยท่อวัดการเอียงตัว (Inclinometer Casing) เป็นท่อพิเศษที่มีร่อง 4 ร่องด้านในตั้งฉากกันเพื่อให้หัววัดการเอียงตัว (Inclinometer Probe) วิ่งขึ้น-ลงตามร่องนี้โดยการตรวจวัด จะหย่อนหัววัดลงไปในท่อจนถึงก้นท่อแล้วค่อยๆ ดึงขึ้น และบันทึกค่าความเอียงทุกๆ ระยะ 0.5 เมตรในขณะที่ดึงหัววัดกลับขึ้นมา
- เครื่องมือวัดการยืดหดตัวของดิน (Extensometer) เป็นเครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของชั้นดินในแนวดิ่งที่ใช้ติดตั้งในหลุมเจาะหรือในดินถม โดยสามารถวัดการเคลื่อนตัวของดินที่ระดับความลึกต่างๆ มีหลายระบบให้เลือกใช้ ได้แก่ ระบบแม่เหล็กเป็นตัววัด (Magnetic Extensometer), ระบบที่ใช้วงแหวนรัดท่อเป็นตัววัด (Sondex System) และระบบที่ใช้แท่งโลหะหรือไฟเบอร์กลาส (Rod Extensometer)
2.3 เครื่องมือวัดการเอียงตัวของโครงสร้าง (Tilt Meter) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ได้แก่
-
เครื่องมือวัดการเอียงตัว (Tilt meter) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยแผ่นวัดการเอียงตัว (Tilt Plate), Portable Tiltmeter และ Readout Unit โดย Portable Tiltmeter ใช้หลักการของแรงสมดุลแบบอัตราเร่ง (Force balanced servo-accelerometer) ในการตรวจวัดการเอียงตัว โดยตัว accelerometer จะติดตั้งอยู่ในกระบอกที่ยึดติดกับโครงโลหะที่มีแผ่นหน้าเรียบและมีตำแหน่งที่แน่นอน โดยแผ่นหน้าด้านล่างจะใช้สำหรับ Tilt Plate ที่ติดตั้งในแนวราบ (Horizontal) และแผ่นหน้าด้านข้างจะใช้สำหรับ Tilt Plate ที่ติดตั้งในแนวตั้ง (Vertical) ส่วนตัว Tilt Plate นั้นจะถูกยึดติดกับโครงสร้างตามตำแหน่งที่กำหนด การเปลี่ยนแปลงของการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ สามารถหาได้จากการเปรียบเทียบ ค่าที่อ่านได้ครั้งหลังสุด (Current Reading) กับค่าที่อ่านครั้งแรก (Initial Reading)
- เครื่องมือวัดการเอียงตัวแบบ Electro Level (EL Tilt Meter) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ด้วยระบบ Sensor ที่มีความละเอียดสูง สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของการเอียงตัวที่มีขนาดเล็กถึง 0.00028 องศา ซึ่งวิธีการติดตั้งง่าย มีขายึดแบบหมุนที่สามารถติดตั้ง EL Tilt Meter กับผนังหรือเพดาน โดยใช้ขายึดเพียงตัวเดียว การเปลี่ยนแปลงของการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ สามารถหาได้จากการเปรียบเทียบ ค่าที่อ่านได้ครั้งหลังสุด (Current Reading) กับค่าที่อ่านครั้งแรก (Initial Reading)
2.4 เครื่องมือวัดรอยแตกหรือรอยแยก เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดรอยแตกหรือรอยแยกของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ได้แก่
- เครื่องมือวัดรอยแตก (Crack Gauge) เป็นมาตรวัดการขยายตัวและการหดตัวของรอยร้าว โดยหมุดวัดระยะที่ฝังอยู่ 2 ข้างของรอยร้าว เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงระยะทางระหว่างหมุด สามารถอ่านขนาดการขยายตัวหรือการหดตัวของรอยร้าว สามารถวัดได้ละเอียดถึง 1 มิลลิเมตร เมื่ออ่านค่าด้วยเวอร์เนีย