หน่วยธุรกิจเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์

งานเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ถือเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ ของงานวิศวกรรมโยธา กล่าวคือ โครงสร้าง อาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ล้วนถูกสร้างอยู่บนพื้นดิน และชั้นดินในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างด้านบนผ่านโครงสร้างใต้ดินที่เรียกว่า ฐานราก (Foundation) ดังนั้นการสำรวจสภาพชั้นดินและทดสอบหาคุณสมบัติดินจึงมีความจำเป็นต่อการออกแบบทางด้านวิศวกรรมปฐพี

 

คุณภาพของข้อมูลจากการสำรวจสภาพชั้นดินเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผู้รับผิดชอบในงานออกแบบฐานราก เนื่องจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับงานฐานรากนั้นเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะเมื่อมีโครงสร้างเหนือพื้นดิน ดังนั้น ข้อมูลชั้นดินที่มีความถูกต้องและเพียงพอจะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบฐานรากหรือโครงสร้างใต้ดินได้อย่างเหมาะสม ประหยัด ปลอดภัย และสามารถลดต้นทุนโครงการได้


          
  
  
 

หน่วยธุรกิจเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ บริษัท เอส ที เอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีประสบการณ์ให้บริการเจาะสำรวจดินมากว่า 50 ปี และได้รับการเชื่อมั่นจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ถึงคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ อีกทั้งทางบริษัทฯ เป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 ในการดำเนินการภายใต้ระบบควบคุมคุณภาพ  ตามมาตรฐานในระดับสากล 

หน่วยธุรกิจเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ ให้บริการเจาะสำรวจดิน (Soil Boring) และเก็บตัวอย่างแท่งหิน (Rock Coring) การทดสอบในสนาม (In Situ Tests) ประเภทต่าง ๆ  อาทิเช่น การทดสอบ SPT, การทดสอบ Cone Penetrometer, CPT หรือ CPTu, การทดสอบ Pressuremeter, การทดสอบ DCPT และการทดสอบ Kunzelstab  นอกจากนี้ยังมีงานทดสอบในห้องปฎิบัติการ และการจัดทำรายงานการสำรวจสภาพชั้นดิน หรือรายงานผลเจาะสำรวจดิน (Soil Report) และมีบริการให้คำแนะนำ การคำนวนกำลังรับน้ำหนัก อัตราการทรุดตัว การซึมน้ำของชั้นดิน เพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก  งานประเมินความแข็งแรงและการรับน้ำหนักของชั้นดิน ชั้นทาง งานดินถม งานถนน งานเขื่อน เป็นต้น โดยหน่วยธุรกิจเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์มีบริการสำรวจ และทดสอบในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


1. งานเจาะสำรวจดิน และ หิน

การที่จะทราบถึงชนิดของดินได้จะต้องทำการเก็บตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของชั้นดินต่าง ๆ โดยให้อยู่ในลักษณะคงสภาพเดิมของชั้นดินให้มากที่สุด ตัวอย่างดินที่ได้จะนำมาหาคุณสมบัติของดินทั่วไป และคุณสมบัติของดินทางด้านวิศวกรรม เช่น ความแข็งแรงของดิน การยุบตัว และการซึมน้ำ เป็นต้น โดยจะเก็บตัวอย่างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการทดสอบ โดยการเก็บตัวอย่างดินที่ให้บริการมีดังนี้
 

     

 

1.1. เก็บตัวอย่างดินแบบคงสภาพ (Undisturbed Sampling) ด้วยเครื่องมือ Piston sampler, Thin wall Tube

1.2. เก็บตัวอย่างดินแบบไม่คงสภาพ (Disturbed Sampling) ระหว่างทดสอบ Standard Penetration Test ด้วยตุ้มตอกชนิด Safety Hammer หรือ Automatic Trip Release Hammer.

1.3. เก็บตัวอย่างแท่งหิน (Rock Coring) ด้วยเครื่องมือ NMLC Retractable Triple Tube  Core Barrel
 

หน่วยธุรกิจเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ บริษัท เอส ที เอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีเครื่องมือเจาะสำรวจดินทั้งแบบ Portable และแบบ Rotary มากกว่า 50 เครื่อง พร้อมวิศวกรและทีมช่างเทคนิคที่มีประสบการณ์มากว่า 50 ปี นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับทำการเจาะสำรวจในแม่น้ำหรือเจาะสำรวจนอกชายฝั่งได้อีกด้วย

 

Geotech          

            

     


2. งานทดสอบในสนาม

บริษัทฯ มีเครื่องมือสำรวจ และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ ในภาคสนามที่ได้มาตรฐาน และทันสมัยสามารถรองรับการทดสอบต่าง ๆ ได้ ดังต่อไปนี้


2.1. การทดสอบในที่ (In Situ Tests)
 

     


2.1.1. Standard Penetration Test, SPT                           
การทดสอบ SPT เพื่อหาค่ากำลังรับน้ำหนักของชั้นดิน ใช้ในงานออกแบบฐานราก เหมาะกับชั้นดินแข็งและดินทราย

2.1.2. Cone Penetration Test, CPT และ Piezocone Penetration Test, CPTu
การทดสอบ CPTu เพื่อหาค่าแรงเสียดทานผิว (Sleeve Friction, FS) และแรงต้านทานที่ปลายหัวโคน (Cone Bearing) พร้อมวัดแรงดันน้ำ (Pore water pressure) สำหรับใช้ประเมินลักษณะความแข็งแรง และสภาพชั้นดิน เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบฐานรากเสาเข็ม และฐานรากตื้น

2.1.3. Field Vane Shear Test
การทดสอบ Field Vane Shear เพื่อหาแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ (Undrained Shear Strength) ของดินเหนียวอ่อน ด้วยเครื่องมือ Geonor Vane Borer

2.1.4. Kunzelstab
การทดสอบ Kunzelstab เพื่อใช้ในการออกแบบฐานรากตึ้นหรือตรวจสอบระดับความลึกของชั้นดินที่เหมาะสมสำหรับวางรากฐาน

2.1.5.  Field Density Test
การทดสอบ Field Density เพื่อหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม (In-Placed Density) เพื่อควบคุมการบดอัดของดินในสนาม ให้เป็นไปตามข้อกำหนด (Specification)

2.1.6.  Pressuremeter Test                           
การทดสอบ Pressuremeter เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความดันของดินอยู่กับที่และค่าโมคูลัสยืดหยุ่น(Modulus of Elasticity)เพื่อใช้ออกแบบโครงสร้างรับแรงดันดินด้านข้าง

2.1.7.  DCPT (Dynamic Cone Penetrometer Test)
​การทดสอบ DCPT นี้เพื่อใช้ในงานออกแบบชั้นทาง และผิวจราจร (Pavement Application) โดยจะแปลงผลทดสอบที่ได้ในสนามเป็นค่า In Situ CBR  

 

       


          
     

2.2. Geophysical Survey Method
 

2.2.1. Soil Resistivity Test
การทดสอบ Soil Resistivity เพื่อตรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าของดิน เพื่อการออกแบบ Cathodic Protection ของโครงสร้างที่ต้องฝังอยู่ใต้ดิน และการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในการออกแบบระบบกราวด์ (Ground)

2.2.2. Thermal Conductivity Test
เพื่อหาค่าการเหนี่ยวนำความร้อนในดินที่มีผลกระทบจากสิ่งปลูกสร้างที่วางตัวอยู่ในชั้นดิน เช่น งานวางท่อต่าง ๆ หรืองานโครงสร้างฐานราก เป็นต้น

2.2.3. Downhole Seismic Test
การทดสอบ Downhole Seismic เพื่อใช้หาค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดิน (Shear Wave Velocity)เพื่อใช้ในงานออกแบบฐานชนิดรับแรงสั่นสะเทือนจาก Vibration และแผ่นดินไหว                          

 

            


3. งานทดสอบในห้องปฏิบัติการ


หน่วยธุรกิจเจาะสำรวจดิน และทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ บริษัท เอส ที เอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีบริการทดสอบในห้องปฎิบัติการทางปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanic Laboratory) งานทดสอบดิน (Soil Testing) งานทดสอบคุณภาพวัสดุก่อสร้าง อาทิเช่น หินคลุก ดินลูกรัง และทราย (Material Testing) ด้วยเครื่องมือทดสอบคุณภาพสูงจากยุโรป และสหรัฐอเมริกา ผลการทดสอบมีความถูกต้อง เที่ยงตรง งานทดสอบดำเนินการตามขั้นตอนมาตรฐาน ASTM โดยวิศวกรและเจ้าหน้าที่ทดสอบที่มีประสบการณ์ ทำให้ข้อมูลคุณสมบัติของดินจากการทดสอบมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ในการออกแบบหรือควบคุมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานทดสอบที่ทางบริษัทให้บริการมีดังนี้

 


 

3.1. การจำแนกประเภทของดิน (Soil Classification)

3.2. การทดสอบการบดอัดของดิน (Soil Compaction)

3.3. การทดสอบหาค่า CBR (California Bearing Ratio)

3.4. การทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (Permeability Test)

3.5. การทดสอบการทรุดตัวของดิน (Consolidation Test)

3.6. การทดสอบ Constant Rate of Strain (CRS)

3.7. การทดสอบด้านกำลังรับแรงเฉือนของดิน Shear Strength

3.7.1. Unconfined Compression Test
3.7.2. Direct Shear Test
3.7.3. Triaxial Test (UU, CU, CD)     

          

     

     


รูปเพิ่มเติม